ภาค ๑
(พระไตรปิฏก เล่ม ๔)
วรรคใหญ่ ภาค ๑ มี ๔ขันธ์
๑. มหาขันธ์กะหมวดใหญ่ ว่าด้วยการณ์ในสมัยที่พุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ
ทรงมนสิการปฏิจจสมุปบาท
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับ ณ โคนไม้โพธิริมฝั้งแม่นํ้าเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลา พระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุตตอสุข ณ โคนไม้โพธิตลอด ๗ วัน ในปฐมยามแห่งราตรี ทรงพิจารนาปฏิจจสมุปบาทธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปเพราะอาศัยเหตุปัจจัยโดยอนุโลมและปฏิโลม แล้วทรงเปล่งอุทานว่า เมื่อธรรมปรากฏ แก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่เขาย่อมสิ้นความสงสัย เพราะรู้ธรรมพร้อมทั้งตนเหตุ ในเวลามัชฌิมยามแห่งราตรี ทรงพิจารนาปฏิจจสมุปบาทโดยอนุโลมและปฏิโลมแล้วทรงเปล่งอุทานว่าเมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ เขาย่อมสิ้นความสงศัย เพราะได้ทราบถึงความสิ้นไปแห่งปัจจัย ในเวลาปัจฉิมยามแห่งราตรีทรงพิจารนา ปฏิจจสมุปบาททั้งโดยอนุโมลตามลำดับและโดยปฏิโลมย้อนลำดับแล้วทรงเปล่งอุทานว่า เมื่อธรรมปรากฏแก่พราหมณ์ผู้มีความเพียรเพ่งอยู่ พราหมณ์นั้นย่อมกำจัดมารพร้อมเสนาเสียได้ ดั่งดวงอาทิตย์ทำท้องฟ้าให้สว่างฉะนั้น.
ทรงโต้ตอบกับพราหมณ์ที่ชอบตวาดคน
เมื่อครบ ๗ วันแล้ว ทรงออกจากสมาธินั้นเสด็จจากโคนโพธิ ไปยังไม้อชปาลนิโครธ ต้นไทรที่เด็กเลียงแพะชอบมาพัก ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ณ โคนนั้นตลอด ๗ วัน มีพราหมณ์ตวาดคนมาเฝ้ากราบทูนถามถึงธรรมะที่ทำคนให้เป็นพราหมณ์ ทรงเปล่งอุทานเป็นใจความว่า ผู้ที่จะนับว่าเป็นพราหมณ์ คือผู้ลอยบาป ไม่มักตวาดคนอื่น ไม่มีกิเลสเหมือนนํ้าฝาด สำรวจตน มีความรู้จบเวท อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ไม่มีความเย่อหยิ่ง.
ทรงเปล่งอุทานที่ต้นจิก
ครั้นครบ ๗ วัน แล้วทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้อชปาลนิโครธไปยังต้นจิก ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ณ โคนไม้จิกนั้น ตลอด ๗ วัน ได้เกิดเมฆใหญ่ผิดฤดูกาลมีฝนพรําเจือด้วยลมหนาว ตลอด ๗ วัน พญานาคชื่อมุจลินท์ มาวงขนดรอบพระกายของพระผู้มีพระภาค ๗ รอบ เพื่อป้องกันหนาวร้อนเหลื่อบยุงเป็นต้น ทรงเปล่งอุทานปรารภสุข ๔ ประการ คือ สุขเพราะความสงัด สุขเพราะไม่เบียดเบียน สุขเพราะปราศจากราคะก้าวล่วงกามได้ และสุขอย่างยอดคือการนำความถือตัวออกได้
เหตุการณืที่ต้นเกต
ครั้นครบ ๗ วันทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้จิกไปยังไม้ราชายตนะ(ต้นเกต)ประทับนั่งเวสยวิมุตติสุข ณ โคนยเกตนั้นตลอด ๗ วัน มีพ่อค้าสองคนชื่อ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เดินทางมาจากอุกละชนบท ถวายข้าวสัตตุก้อนและสัตตุผง ทรงรับด้วยบาตรที่ท้าวจตุมมหาราชถวาย แล้วเสวยข้าวนั้น พ่อค้า๒ คนปฏิญญาตนเป็นอุบาสกถึง พระพุทธ พระธรรมเป็นสรณะ นับเป็นอุบาสกชุดแรกในโลกที่เปล่งวาจาถึงรัตนะ ๒ (คือ พระพุทธ พระธรรม).
เสด็จกลับไปที่ต้นไทรอีก
ครั้นครบ ๗ วัน แล้ว ทรงออกจากสมาธินั้น เสด็จจากโคนไม้เกตไปยังต้นไทรที่เด็กเลี่ยงแพะชอบมาพัก(อชปาลนิโครธ) และประทับ ณ โคนไม้ไทรนั้น ทรงพิจารนาเห็นว่า ธรรมที่พระองค์ตรัสรู้ ลึกซึ้ง ยากที่คนอื่นจะตรัสรู้ตามได้ กล่าวคือ หลักอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท แม้ฐานะคือ ความสงบแห่งสังขารทั้งปวง ความสิ้นตัณหา วิราึคะ นิโรธนิพพาน ก็เป็นสิ่งเห็นไ้ดยาก ทรงน้อมพระหฤทัยไปในทางที่จะไม่แสดงธรรม.
พระพรหมมาอาราธนา
ท้าวสหัมบดีพรหมทราบพุทธดำริ จึงมาเฝ่ากราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรม อ้างเหตุผลว่าผู้ที่มีกิเลสน้อย พอจะรู้พระธรรมได้มีอยู่ พระผู้มีพระภาคทรงพิจารนาสัตว์เปรียบด้วยดอกบัว ๓ ชนิด คือที่อยู่ใต้นํ้า เสมอนํ้า และโผล่พ้นนํ้า อันเปร๊ยบด้วยบุคคล ๓ ชนิด ที่พอจะตรัสรู้ได้ จึงทรงตกลงพระทัยที่จะแสดงธรรม ทรงปรารภอาฬารดาบส กาลามโคตร ก็ทรงทราบว่าถึงแก่เสีย ๗ วันแล้ว ทรงปรารภอุทกดาบส รามบุตร ก็ทรงว่าถึงแก่กรรมเสียเมื่อวานนี้เอง จึงตกลงพระหฤทัย เสด็จไปแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ระหว่างทางทรงพบอุปกาชีวก ได้ตรัสโต้ตอบกับอาชีวกนั้น แต่อุปกาชีวกนั้นไม่เชื่อ.
ทรงแสดงธรรมครั้งแรก
เมื่อเสด็จถึงป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงกรุงพาราณสีแล้ว ครั้งแรกปัจจวัคคีย์เหล่านั้นแสดงอาการกระด่างกระเดื่อง แต่เมื่อทรงเตือนให้นึกถึงว่าเมื่อก่อนพระองค์ ไม่ตรัสบอกเลยว่าตรัสรู้ บัดนี้ตรัสบอกแล้ว จึงควรตั้งใจฟัง ก็พากันตั้งใจฟัง พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงธัมจักกัปปวัตตนสูตร มีใจความสำคัญคือ
๑. ทรงชี้ทางผิดอันได้แก่กามสุขัลลิกานุโยค(การประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยกาม) และอัตตกิลมถานุโยค(การทรมานตนให้ลำบาก) ว่าเป็นส่วนสุดโต่งที่บรรพชิตไม่ควรดำเนิน แล้วทรงแสดงมัชฌิมาปฏิปทา(ข้อปฏิบัติสายกลาง)ได้แก่มรรคมีองค์ ๘ ที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว อันไปเพื่อพระนิพพาน.
๒. ทรงแสดงอริยะสัจ ๔ คือ ทุกข์ เหตุให้ทุกข์เกิด ความดับทุกข์และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ โดยละเอียด.
๓. ทรงแสดงว่าทรงรู้อริยสัจ ๔ ทรงรู้หน้าที่อันควรทำในอริยสัจ ๔ และรู้ว่า ได้ทรงทำหน้าที่เสร็จแล้ว จึงทรงแน่พระหฤทัยว่า ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว(อันแสดงว่าทรงปฏิบัติจนได้ผลด้วยพระองค์เองแล้ว) เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม และได้ข้อบวช ต่อมาท่านวัปปะ ท่านภัททิยะ ท่านมหานามะและท่านอัสสชิ สดับพระธรรมเทศนา ได้ดวงตาเห็นธรรมตามลำดับ และได้ขอบวข เป็นอันได้ขอบวชครบทั้ง ๕ ท่าน
ทรงแสดงอนัตตลักขสูตร
ต่อจากนั้น พระผู้มีพระภาค จึงทรงแสดงอนัตตลักขสูตรแก่ภิกษุปัจจวัคคิย์นั้น มีใจความสำคัญคือ
๑. รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ ไม่ใช่ตน ถ้าเป็นตนก็จะบังคับบัญชาให้เป็นอย่างนี้ไม่เป็นอย่างนั้นได้ ฉะนั้นจึงเป็นไปเพื่อป่ายอาพาธ เพราะไม่ใช่ตนจึงบังคับบัญชาไม่ได้.
๒. แล้วตรัสถามให้ตอบเป็นข้อๆ ไปว่า ขันธ์ ๕ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ตอบว่าไม่เที่ยง สิ่งที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์หรือเป็นสุข ตอบว่าเป็นทุกข์ สิ่งใดไม่เที่ยงเป็นทุกข์มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นว่านั่นของเรา เราเป็รนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา ภิกษุปัจจวัคคีย์เหล่านั้นตอบว่าไ่ม่ควร.
๓. ตรัสสรุปว่าเพราะเหตุนั้น ควรเห็นด้วยปัญญาอันชอบว่า รูปเป็นตนทุกชนิดไม่ใช้ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา.
๔. ตรัสแสดงผลว่า อริยะสาวกผู้เห็นอย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายในรูปเป็นตนนั้น เมื่อเบื่อหน่ายก็คลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นก็รุ้ว่าหลุดพ้นแล้ว รู้ว่าสิ้นชาติอยู่จบพรหมจรรย์ทำหน้าที่เสร็จแล้ว ไม่ต้องทำหน้าอะไรเพื่อควาเป็นอย่างนั่นอีก ภิกษุปัจจวัคคีย์มีจิตหลุดพ้นจากอาสวะไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ครั้งนั้น มีพระอรหันต์เกิดขึ้น ๖ องค์